ต้อนรับคณะครูจาก รร.วัดสังฆราชา ลาดกระบัง กรุงเทพ

This slideshow requires JavaScript.

โพสท์ใน กลุ่มงานบริหารทั่วไป, กลุ่มงานบุคคล, กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ | ใส่ความเห็น

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่

นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่

ประวัติ

นายอภิชาติ จีระวุฒิ

  • เกิดวันที่ 24 มิถุนายน 2498 
  • เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุตรนายวิศิษฐ์-นางประทุม จีระวุฒิ  โดยพื้นฐานครอบครัวเป็นข้าราชการครู

การศึกษา : จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียน เสนา “เสนาประสิทธิ์” ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงจาก วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ปริญญาการศึกษาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา จากมหาวิทาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ บางเขน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒพิษณุโลก 

ประวัติการทำงาน :

  • 2519 เริ่มรับราชการในตำแหน่งครู 2 โรงเรียนสังวาลย์อุทิศ หมวดการศึกษา อำเภอบางไทร องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • 2523 โอนมาปฏิบัติราชการที่สำนักงาน ก.ค.  ได้รับการชักชวนจากน้าชาย ครูสมศักดิ์ พงษ์พูนลาภ (ผู้แทนครูในกรรมการอำนวยการคุรุสภาและผู้แทนครูในคณะกรรมการข้าราชการครู : ก.ค.) ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 2 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการศึกษา และโอนมารับราชการที่สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี ในตำแหน่งนักวิชาการศึกษา 7  กลุ่มวิจัยและพัฒนา เลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ) ส่วนติดตามประเมินผล สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • 2541 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกระทรวงศึกาธิการ 2545 ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร 9) ด้านบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • 2546 รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา (นักวิชาการศึกษา 10) ด้านระบบบริหารการจัดการศึกษา
  • 2549 ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • 2551 ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ผลงานเกียรติยศเป็นข้าราชการครูสปช.คนแรกที่มาช่วยราชการระหว่างรอการรับโอนส่งตำแหน่ง มีหน้าที่รับผิดชอบงานการประชุม อ.ก.ค.วิสามัญฯ และ ก.ค. วิเคราะห์ตำแหน่งหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอและผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัดในปี 2524 และรับผิดชอบงานกำหนดตำแหน่งและบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครู สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมาโดยตลอด จนเปลี่ยนหน้าที่เป็นเลขานุการ ก.ค. เลขานุการอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน  หัวหน้าฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และหัวหน้าฝ่ายบริหารกองการเจ้าหน้าที่ กรมการศึกษานอกโรงเรียน
  • เมษายน 2554 ขึ้นตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2484)

ลำดับ
(สมัย)
รูป รายพระนาม/รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 Tamasak03.JPG เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
2 Pahol.jpg พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 29 มีนาคม พ.ศ. 2476
3 Emblem of Ministry of Education.png พระสารสาสน์ประพันธ์ 29 มีนาคม พ.ศ. 2476 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478
4 Sind Kamolnavin.gif พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2485 – ปัจจุบัน)

ลำดับ
(สมัย)
รูป รายพระนาม/รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 Jompolpor.jpg จอมพล แปลก พิบูลสงคราม 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
2 Prayoon Pamornmontri.gif พลโท ประยูร ภมรมนตรี 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
3 Tawee Boonyaket thai p.m.no.5.jpg นายทวี บุณยเกตุ พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2488
4 Emblem of Ministry of Education.png พระตีรณสารวิศวกรรม พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2489
5 ดร.เดือน บุนนาค พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2490
6 Srapaivanis.gif นาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒ พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2491
7 M.R.Seni pramoj.jpg หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช พ.ศ. 2491
8 Mungkorn Promyothi.jpg พลเอก มังกร พรหมโยธี พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2492
9 Emblem of Ministry of Education.png พลโท สวัสดิ์ ส. สวัสดิเกียรติ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2500
10 Img0710000043.gif นายเลียง ไชยกาล พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2494
11 Munee maha.jpg พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2500
12 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล1.jpg หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2512
13 Sukit n.jpg นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ พ.ศ. 2512 พ.ศ. 2515
14 อภัย จันทวิมล.jpg นายอภัย จันทวิมล พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517
15 Emblem of Ministry of Education.png นายเกรียง กีรติกร พ.ศ. 2517
16 Emblem of Ministry of Education.png นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2522
17 Nipon Sasithorn.jpg ดร.นิพนธ์ ศศิธร พ.ศ. 2518
18 Emblem of Ministry of Education.png นายประชุม รัตนเพียร พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2519
19 Emblem of Ministry of Education.png พลตรี ศิริ สิริโยธิน พ.ศ. 2519
20 Emblem of Ministry of Education.png นายภิญโญ สาธร พ.ศ. 2519
21 Boonsom Martin.jpg นายแพทย์บุญสม มาร์ติน พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2523
22 Sippanondha-72.jpg ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2524
23 Visionpict3.gif ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2526
24 Suan L.jpg นายชวน หลีกภัย พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529
25 Marud.jpg นายมารุต บุนนาค พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2531
26 Emblem of Ministry of Education.png พลเอก มานะ รัตนโกเศศ พ.ศ. 2531 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
27 Emblem of Ministry of Education.png พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
Emblem of Ministry of Education.png นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
28 Somboon rahong.jpg พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
29 สัมพันธ์ ทองสมัคร.jpg นายสัมพันธ์ ทองสมัคร พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2538
30 Sukawit.jpg นายสุขวิช รังสิตพล พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2540
31 Leader.jpg นายชิงชัย มงคลธรรม พ.ศ. 2540
32 Chumpol Silpaacha.JPG นายชุมพล ศิลปอาชา พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541
33 Panja.jpg นายปัญจะ เกสรทอง พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542
34 Somsak prisana.jpg นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2544
35 Kasem-Watanachai.jpg ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 11 มิถุนายน พ.ศ. 2544
36 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร.jpg พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร 14 มิถุนายน พ.ศ. 2544 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544
37 นายสุวิทย์ คุณกิตติ.jpg นายสุวิทย์ คุณกิตติ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
38 Pongpol.jpg นายปองพล อดิเรกสาร 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546
39 Adisai.jpg ดร.อดิศัย โพธารามิก 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
40 จาตุรนต์ ฉายแสง.jpg นายจาตุรนต์ ฉายแสง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.) 19 กันยายน พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
41 Vichit1.jpg ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
42 Somchaiwong.jpg นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 9 กันยายน พ.ศ. 2551
43 Srimuang.jpg นายศรีเมือง เจริญศิริ 24 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
44 Jurin L.jpg นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 15 มกราคม พ.ศ. 2553
45 Chinnawon.jpg นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 ปัจจุบัน
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

โรงเรียนมาตรฐานสากล World-Class Standard School

โรงเรียนมาตรฐานสากล !

โรงเรียนมาตรฐานสากล World-Class Standard School เป็นโรงเรียนในโครงการที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยมีความมุ่งหวังไว้ว่า นักเรียนมีศักยภาพ เป็นพลเมืองโลก โดยมีโรงเรียนในโครงการทั่วประเทศรวม 500 โรงเรียน ด้วยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพในการต่อยอดให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ ใช้ระยะเวลาดำเนินการโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

ประเทศที่พัฒนาแล้ว..ได้อะไร?

ประเทศที่พัฒนาแล้วได้อะไร เอาอะไรมาเป็นตัววัด วันนี้ญีปุ่นกำลังแสดงคำตอบให้พวกที่ชอบถามแบบนี้ได้รู้กันทั่ว โลกต่างพากันยกย่อง วินัยของชาวญี่ปุ่น แม้ว่าจะเจอกับภัยพิบัติร้ายแรง แต่ก็ยังไม่มีการปล้นสะดม กลับเข้าคิวต่อแถวซื้อสินค้าอย่างมีระเบียบ

15 มีค.54 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ขณะที่ชาวญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับเหตุการณ์ภัยพิบัติร้ายแรง ทั้งแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ รวมไปถึงการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งนายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่นกล่าวในวันอาทิตย์ที่ 13 มีค.54 ที่ผ่านมาว่า ภัยพิบัติครั้งนี้นับว่าเป็นวิกฤตร้ายแรงที่สุดของประเทศนับตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กระนั้น ภาพที่โลกได้เห็นคือ ผู้คนที่มีสีหน้าสงบนิ่ง และมีสติพอที่จะอยู่ในระเบียบวินัย ไม่มีข่าวคราวความวุ่นวายโกลาหล ปล้นสะดม หรือฉกฉวยโอกาสซ้ำเติมเอาเปรียบจากเคราะห์กรรมของเพื่อนมนุษย์ โดยชาวญี่ปุ่นจะต่อแุถวเข้าคิวรับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่กู้ภัย รวมไปถึงการซื้อสินค้าตามร้านค้าต่างๆ

  นายโจเซฟ เนย์ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า

“ภัยพิบัติครั้งนี้อาจทำให้ญี่ปุ่นได้รับพลังแห่งความอ่อนโยน หรือการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยการสร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้อื่น โดยแม้ว่าประเทศจะต้องเผชิญกับโศกนาฎกรรมน่าเศร้าเช่นนี้ ญี่ปุ่นก็ยังแสดงภาพน่าประทับใจให้เห็นถึงสังคมที่มีรูปแบบอย่างดีสามารถรับ มือกับวิกฤตอย่างนิ่งสงบและมีระเบียบ

ด้าน หนังสือพิมพ์ชื่อดัง อย่าง เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ยังกล่าวในบทบรรณาธิการว่า ภายหลังประสบกับภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดในรอบ 300 ปี แต่ชาวญี่ปุ่นกลับนิ่งได้ท่ามกลางการโกลาหล และสามารถจัดระเบียบความช่วยเหลือและปฎิบัติการกู้ภัยอย่างมหาศาล และได้รับการชื่นชมศรัทธาจากชาวโลก

ใน จังหวัดจิบะ คนลุงคนหนึ่งที่หลบภัยอยู่ก็ได้เปรยออกมาว่า ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรน้า เด็กหนุ่มม.ปลายก็ตอบกลับไปว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง ต่อจากนี้ไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ พวกผมจะทำให้มันกลับมาเหมือนเดิมแน่นอน (ไม่เป็นไร พวกเรายังมีอนาคต!!!)

อ่านเพิ่มเติม

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น